รายละเอียด:
เคมี 1 (Chemistry)
The Molecular Nature of Matter and Change
เหมาะสำหรับ : นิสิต นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ นักเคมี และผู้เกี่ยวข้องกับวิชาเคมี ทุกระดับ
ชื่อหนังสือเล่มนี้ได้แสดงให้เห็นว่าเคมีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย ในกรณีที่จำเป็นต้องมีรูปสีเพื่อให้เห็นตัวอย่างต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ก็มีหน้าสี่สีด้วยจำนวนหนึ่ง การทำโจทย์ตัวอย่างมีขั้นตอนการคิดด้วยเหตุผล และตัวอย่างส่วนใหญ่มาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงรอบตัวเรา เนื้อหาในเล่มแรกนี้มี 16 บท และในเล่มที่สองมี 8 บท และบทแทรกอีก 1 บท มีการย้ายบทที่มีเนื้อหาต่อเนื่องกันมาไว้ด้วยกันบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตรเคมีทั่วไปในระดับอุดมศึกษา ผู้เรียบเรียงพยายามใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานมากที่สุด ยกเว้นในกรณีที่ยังไม่มีศัพท์ที่บัญญัติไว้หรือศัพท์ยังไม่เป็นที่นิยมใช้ รวมถึงศัพท์วิชาการบางคำที่ไม่เหมาะกับการใช้ศัพท์บัญญัติ แต่เหมาะกับการทับศัพท์มากกว่า
-
ครอบคลุมถึงเนื้อหาตามหลักสูตรการเรียนการสอนวิชา เคมี ในทุกระดับ
-
แบบฝึกหัดพร้อมเฉลยจำนวนมาก
-
มีรูป 4 สี เพื่อให้เห็นตัวอย่างต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น
-
การทำโจทย์ตัวอย่างมีขั้นตอนการคิดด้วยเหตุผล ตัวอย่างส่วนใหญ่มาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงรอบตัว
สารบัญ
บทที่ 1 กุญแจในการเรียนวิชาเคมี
1.1 นิยามพื้นฐาน
1.2 ศิลปะแห่งเคมีและจุดเริ่มต้นของเคมีสมัยใหม่
1.3 แนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ : การพัฒนาแบบจำลอง
1.4 การแก้โจทย์เคมี
1.5 การวัดในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
1.6 ความไม่แน่นอนในการวัด : ตัวเลขนัยสำคัญ
บทที่ 2 องค์ประกอบของสสาร
2.1 ธาตุ สารประกอบ และสารผสม : มุมมองเชิงอะตอม
2.2 ผลการสังเกตที่นำไปสู่ภาพของสารในระดับอะตอม
2.3 ทฤษฎีอะตอมของดอลตัน
2.4 ผลการสังเกตที่นำไปสู่แบบจำลองอะตอมที่มีนิวเคลียส
2.5 ทฤษฎีอะตอมปัจจุบัน
2.6 ธาตุ : การดูตารางธาตุครั้งแรก
2.7 สารประกอบ : บทนำเรื่องการเกิดพันธะ
2.8 สารประกอบ : สูตร ชื่อ และมวล
2.9 สารผสม : การจำแนกและการแยก
บทที่ 3 ปริมาณสัมพันธ์ของสูตรและสมการ
3.1 โมล
3.2 การหาสูตรของสารประกอบที่ไม่ทราบชนิด
3.3 การเขียนและดุลสมการเคมี
3.4 การคำนวณปริมาณของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์
3.5 พื้นฐานของปริมาณสัมพันธ์ในสารละลาย
บทที่ 4 ประเภทของปฏิกิริยาเคมี
4.1 บทบาทของน้ำในการเป็นตัวทำละลาย
4.2 การเขียนสมการสำหรับปฏิกิริยาไอออนิกในสารละลายในน้ำ
4.3 ปฏิกิริยาการตกตะกอน
4.4 ปฏิกิริยากรด-เบส
4.5 ปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน (รีดอกซ์)
4.6 ธาตุในปฏิกิริยารีดอกซ์
4.7 ปฏิกิริยาผันกลับได้ : สมดุลเคมีเบื้องต้น
บทที่ 5 แก๊สกับทฤษฎีจลน์โมเลกุล
5.1 ภาพรวมของสถานะทางกายภาพของสสาร
5.2 ความดันของแก๊สกับการวัดความดัน
5.3 กฎของแก๊สและรากฐานเชิงการทดลอง
5.4 การประยุกต์ใช้กฎแก๊สสมบูรณ์แบบในด้านอื่นๆ
5.5 กฎแก๊สสมบูรณ์แบบกับปริมาณสัมพันธ์ของปฏิกิริยา
5.6 ทฤษฎีจลน์โมเลกุล : แบบจำลองสำหรับพฤติกรรมของแก๊ส
5.7 แก๊สจริง : การเบี่ยงเบนจากพฤติกรรมสมบูรณ์แบบ
บทที่ 6 เทอร์โมเคมี : การถ่ายเทพลังงานกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
6.1 รูปและการเปลี่ยนรูปของพลังงาน
6.2 เอนทัลปี : ความร้อนของปฏิกิริยากับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
6.3 แคลอรีเมตรี : การวัดความร้อนของปฏิกิริยาในห้องปฏิบัติการ
6.4 ปริมาณสารสัมพันธ์ของสมการเทอร์โมเคมี
6.5 กฎการรวมความร้อนของเฮสส์
6.6 ความร้อนมาตรฐานของปฏิกิริยา
บทที่ 7 โครงสร้างของอะตอม
7.1 ธรรมชาติของแสง
7.2 สเปกตรัมอะตอม
7.3 ทวิภาพคลื่น-อนุภาคของสสารและพลังงาน
7.4 แบบจำลองกลศาสตร์ควอนตัมของอะตอม
บทที่ 8 การจัดอิเล็กตรอนและความเป็นคาบทางเคมี
8.1 พัฒนาการของตารางธาตุ
8.2 ลักษณะของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอน
8.3 แบบจำลองกลศาสตร์ควอนตัมกับตารางธาตุ
8.4 แนวโน้มของสมบัติสามประการของอะตอม
8.5 โครงสร้างอะตอมกับความไวต่อปฏิกิริยา
บทที่ 9 แบบจำลองของการสร้างพันธะเคมี
9.1 สมบัติของอะตอมกับพันธะเคมี
9.2 แบบจำลองการสร้างพันธะไอออนิก
9.3 แบบจำลองการสร้างพันธะโคเวเลนต์
9.4 พลังงานพันธะกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
9.5 ระหว่างปลายสุดสองข้าง : อิเล็กโทรเนกาติวิตีกับสภาพขั้วของพันธะ
9.6 บทนำเรื่องการสร้างพันธะโลหะ
บทที่ 10 รูปร่างโมเลกุล
10.1 การสร้างภาพโมเลกุลและไอออนด้วยโครงสร้างลิวอิส
10.2 ทฤษฎีแรงผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์กับรูปร่างโมเลกุล
10.3 รูปร่างโมเลกุลกับสภาพขั้วของโมเลกุล
บทที่ 11 ทฤษฎีการเกิดพันธะโคเวเลนต์
11.1 ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์และไฮบริไดเซชันของออร์บิทัล
11.2 ลักษณะการซ้อนเหลื่อมของออร์บิทัลกับชนิดของพันธะโคเวเลนต์
11.3 ทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุล (MO) การไม่ประจำที่ของอิเล็กตรอน
บทที่ 12 แรงระหว่างโมเลกุล : ของเหลว ของแข็ง และการเปลี่ยนวัฏภาค
12.1 ภาพรวมของสถานะทางกายภาพและการเปลี่ยนวัฏภาค
12.2 แนวคิดเชิงปริมาณของการเปลี่ยนวัฏภาค
12.3 ชนิดของแรงระหว่างโมเลกุล
12.4 สมบัติของสถานะของเหลว
12.5 ความโดดเด่นของน้ำ
12.6 สถานะของแข็ง : โครงสร้าง สมบัติ และการสร้างพันธะ
12.7 วัสดุชั้นสูง
บทที่ 13 สมบัติของสารผสม
13.1 ชนิดของสารละลาย : แรงระหว่างโมเลกุลกับสภาพการละลาย
13.2 แรงระหว่างโมเลกุลกับแมโครโมเลกุลชีวภาพ
13.3 สารต่างๆ ละลายได้อย่างไร : การทำความเข้าใจกระบวนการการละลาย
13.4 สภาพการละลายในลักษณะของกระบวนการสมดุล
13.5 การระบุความเข้มข้นในเชิงปริมาณ
13.6 สมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลาย
13.7 โครงสร้างและสมบัติของคอลลอยด์
บทที่ 14 จลนศาสตร์ : อัตราและกลไกของปฏิกิริยาเคมี
14.1 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราของปฏิกิริยา
14.2 นิพจน์ของอัตราของปฏิกิริยา
14.3 กฎอัตรากับส่วนประกอบของกฎอัตรา
14.4 กฎอัตราอินทิเกรต : การเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นตามเวลา
14.5 ผลของอุณหภูมิต่ออัตราของปฏิกิริยา
14.6 การอธิบายผลของความเข้มข้นและอุณหภูมิ
14.7 กลไกของปฏิกิริยา : ขั้นตอนในปฏิกิริยารวม
14.8 การเร่งปฏิกิริยา : การทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น
บทที่ 15 สมดุล : ปริมาณการเกิดปฏิกิริยาเคมี
15.1 สถานะสมดุลกับค่าคงที่สมดุล
15.2 ผลหารปฏิกิริยากับค่าคงที่สมดุล
15.3 การแสดงสมดุลด้วยพจน์ความดัน : ความสัมพันธ์ระหว่าง Kc กับ Kp
15.4 ทิศทางของปฏิกิริยา : การเปรียบเทียบ Q กับ K
15.5 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมดุล
15.6 สภาวะของปฏิกิริยากับสถานะสมดุล : หลักของเดอ ชาเตอลิเอ
บทที่ 16 เทอร์โมไดนามิกส์ : เอนโทรปี พลังงานอิสระ และทิศทางของปฏิกิริยาเคมี
16.1 กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ : การทำนายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดได้เอง
16.2 การคำนวณการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีของปฏิกิริยา
16.3 เอนโทรปี พลังงานอิสระ กับงาน
16.4 พลังงานอิสระ สมดุล กับทิศทางของปฏิกิริยา
ภาคผนวก ก. การดำเนินการสามัญเชิงคณิตศาสตร์ในเคมี
ภาคผนวก ข. ค่ามาตรฐานทางเทอร์โมไดนามิกส์ของสารบางชนิดที่ 298 K