รายละเอียด:
ปัญญาประดิษฐ์ 2ED-Artificial Intelligence ISBN9789749918814
หนังสือ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)เล่มนี้เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่สอง ซึ่งมีการปรับระบบการจัดเรียงเนื้อหาใหม่ทั้งหมด โดยที่หนังสือเล่มนี้จะเน้นไปที่ระบบการผลิต (Production System) ทั้งหมด นับตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์ เรื่องเบื้องต้นที่สุดคือ ปริภูมิสถานะ (State Space) เพื่อทำความเข้าใจในเบื้องต้นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาในลักษณะใหม่ด้วยความรู้และกฎ จากนั้นก็จะเป็นเรื่องตรรกะ ซึ่งจะเป็นวิธีการในเบื้องต้นสำหรับการอธิบายความรู้ ถัดมาจะเป็นเรื่องของภาษาโปรล็อก ที่ใช้ในการสร้างความรู้และกฎต่างๆ สำหรับการทดสอบความรู้ที่ได้ศึกษาผ่านมา บทต่อไปเป็นเรื่องของระบบการผลิต ที่จะทำให้เราเข้าใจแนวคิดของการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ที่อาศัยการแสดงความรู้เป็นฐาน บทต่อมาที่เกี่ยวกับการแสดงความรู้ก็จะทำความเข้าใจว่าวิธีการในการแสดงความรู้เป็นอย่างไร จากนั้นก็จะเป็นเรื่องระบบผู้เชี่ยวชาญ ที่จะเป็นตัวอย่างในการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง การอนุมานภายใต้ความไม่แน่นอน จะเป็นเรื่องที่กล่าวถึงความรู้ที่ได้มาอย่างไม่สมบูรณ์จะมีวิธีการประมวลผลอย่างไร และบทสุดท้ายเป็นสุดยอดของการประยุกต์การใช้งานปัญญาประดิษฐ์แบบระบบการผลิตที่มีกฎในการแสดงความรู้คือ การแปลภาษาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
สำหรับผู้ที่มีหนังสือฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งนั้น จะสังเกตได้ว่ามีเนื้อหามากกว่าเล่มปัจจุบัน โดยที่ในการพิมพ์ครั้งที่สองนี้ เรื่องการค้นหาแบบฮิวริสติกจะถูกตัดออกไป เหตุผลก็คือ ผู้เขียนไม่ต้องการให้หนังสือเล่มนี้มีจำนวนหน้ามากเกินไป ทำให้ยากต่อการหยิบอ่าน และผู้เขียนกำลังเขียนหนังสือ ปัญญาประดิษฐ์ เล่มที่สอง ซึ่งกำลังจะเสร็จสมบูรณ์ในเร็ววันนี้แล้ว หนังสือเล่มนี้จะรวบรวมวิธีการค้นหาแบบต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การค้นหาเพื่อนำไปสู่การหาค่าที่เหมาะที่สุด (Optimization) เช่น การหาค่าเหมาะที่สุดแบบฝูงมด (Ant Colony Optimization) การหาค่าเหมาะที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค (Particle Swarm Optimization) การหาค่าเหมาะที่สุดแบบฝูงผึ้ง (Artificial Bee Colony) และระบบภูมิคุ้มกันประดิษฐ์ (Artificial Immune System) เป็นต้น สำหรับชื่อหนังสือภาษาไทยนั้น ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะใช้ชื่ออะไรดี แต่สำหรับชื่อหนังสือภาษาอังกฤษจะใช้ชื่อว่า Natural Inspired Algorithms
สารบัญ
บทที่ 1 วิวัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์ (Evolution of Artificial Intelligence) 1
1.1 ความหมายของปัญญาประดิษฐ์ 2
1.2 วิวัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์ 3
1.3 เทคนิคและการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ 16
สรุป 28
แบบฝึกหัด 33
บทที่ 2 ปริภูมิสถานะ (State Space) 37
2.1 บทนำ 38
2.2 ปริภูมิสถานะ 44
2.3 วิธีการแก้ปัญหา 52
สรุป 60
แบบฝึกหัด 62
บทที่ 3 ตรรกศาสตร์ (Logic) 65
3.1 บทนำ 66
3.2 ตรรกศาสตร์เพรดิเคตหรือเพรดิเคตลอจิก 76
3.3 การทำอำนาจจำแนก 87
สรุป 94
แบบฝึกหัด 96
บทที่ 4 ภาษาโปรล็อกเบื้องต้น (Introduction to PROLOG) 101
4.1 บทนำ 102
4.2 ไวยากรณ์ของภาษาโปรล็อก 107
4.3 การจัดโครงสร้างข้อมูลในภาษาโปรล็อก 118
4.4 การใช้โปรล็อกเพื่อการแก้ปัญหา 122
สรุป 129
แบบฝึกหัด 132
บทที่ 5 ระบบการผลิต (Production System) 135 5.1 บทนำ 136
5.2 โครงสร้างของระบบการผลิต 137
5.3 เงื่อนไขของความไม่แน่นอน 158
สรุป 159
แบบฝึกหัด 161
บทที่ 6 การแสดงความรู้ (Knowledge Representation) 167
6.1 บทนำ 168
6.2 โครงข่ายอรรถศาสตร์ 170
6.3 เฟรม 178
6.4 การพึ่งพิงเชิงมโนภาพ 182
สรุป 186
แบบฝึกหัด 188
บทที่ 7 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) 191
7.1 บทนำ 192
7.2 ประวัติของระบบผู้เชี่ยวชาญ 192
7.3 นิยามของระบบผู้เชี่ยวชาญ 193
7.4 องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ 195
7.5 การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ 206
7.6 การเลือกปัญหาที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญขนาดใหญ่ 215
7.7 การใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับการวางผังโรงงาน 219
สรุป 226
แบบฝึกหัด 229
บทที่ 8 การอนุมานภายใต้ความไม่แน่นอน (Inference Under Uncertainty) 233
8.1 บทนำ 234
8.2 การหาเหตุผลแบบนอนโมโนโทนิก 234
8.3 การหาเหตุผลโดยอาศัยความน่าจะเป็น 267
สรุป 281
แบบฝึกหัด 285
บทที่ 9 การแปลภาษาด้วยคอมพิวเตอร์ (Machine Translation) 291
9.1 บทนำ 292
9.2 เทคนิคของการประมวลผลภาษาธรรมชาติ 296
9.3 การแปลภาษาด้วยคอมพิวเตอร์ 321
9.4 ตัวอย่างของการแปลภาษาด้วยคอมพิวเตอร์ 328
สรุป 353
แบบฝึกหัด 356
ดัชนี 361
บรรณานุกรม